วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

รมว.แรงงานเตรียมขยายพื้นที่จ่ายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ให้กับแรงงานงานที่มีฝีมือ








ช่วยสนับสนุน HCTV จะได้มีข่าวอย่างนี้ ให้ชมต่อไป
ติดต่อสนับสนุน โทร 0-3231-0262 , 088-640-8035

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเดินทางมาเปิดการสัมมนาการส่งเสริมอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 22 สาขา อาชีพระดับภาค ที่จังหวัดราชบุรี และเตรียมขยายพื้นที่จ่ายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ให้กับแรงงานงานที่มีฝีมือ

ที่ห้องกัลปพฤกษ์ โรงแรมเวสเทิร์นแกรนด์ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดการสัมมนาการส่งเสริมอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 22 สาขา อาชีพระดับภาค โดยมีนายแพทย์สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายนภินทร ศรีสรรพางค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี และกลุ่มผู้ประกอบการรวมทั้งแรงงานจากสถานประกอบกิจการต่างๆกว่า 500 คน คอยให้การต้อนรับ และเข้าร่วมสัมมนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีแนวทางในการปฏิบัติที่สอดคล้องกันระหว่างผู้ประกอบการและแรงงาน

โดยนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวภายหลังจากการเปิดการสัมมนาว่า สำหรับการส่งเสริมให้มีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ตามนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ได้หาเสียงไว้นั้น ซึ่งได้มีการจัดลำดับจังหวัดนำร่องไว้ 7 จังหวัด ซึ่งได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ภูเก็ต สมุทรสาคร และปทุมธานี โดยจะเริ่มในวันที่ 1 ม.ค.2555 นี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 แต่ในส่วนของจังหวัดอื่นๆนั้น โดยเฉพาะ ที่ จ.ราชบุรี ก็ยังเป็นอีกจังหวัดที่จะต้องมีการขยายการจ่ายค่าแรงขั้นต่ำในลำดับต่อไป ซึ่งในปัจจุบัน จ.ราชบุรี นั้นค่าแรงขั้นต่ำจะอยู่ 180 บาท ต่อวัน มากกว่า จ.พะเยา ที่มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 159 บาท ส่วนจังหวัดที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงสุดคือ จ.ภูเก็ต 221 บาทต่อวัน

ซึ่งถือว่าจังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในระดับกลางที่จะต้องได้รับการพิจาณาแต่ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นที่ยอมรับ และผลที่จะตามมาคือเรื่องของสินค้าที่มีคุณภาพ ทางกระทรวงแรงงานจึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นแม่งานหลัก ในการที่จะหาแนวทางยกระดับคุณภาพฝีมือแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งระบบ โดยให้ดำเนินการทั้งในส่วนของการฝึกอบรมทักษะ ความสามารถ คุณภาพ ตลอดจนความมีวินัยในการทำงาน และให้เป็นที่ยอมรับ ในตลาดแรงงาน ก็จะทำให้ได้รับการคุ้มครองอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งแล้วลูกจ้างเหล่านั้นสามารถที่จะพัฒนาฝีมือตนเองได้มาตรฐานรวมทั้งผ่านการทดสอบการทำงานตามระดับทักษะฝีมือ ก็จะได้รับการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆตามมาตรฐานฝีมือ ส่วนแรงงานต่างด้าวนั้นก็จะมีกฎหมายที่แยกย่อยออกไป ซึ่งคงจะต้องดูฝีมือรวมทั้งความสามารถมาประกอบด้วยจึงจะเข้าข่ายในการจ่ายค่าแรงงานขั้นต่ำตามที่รัฐบาลประกาศไว้


ภาพ/ข่าว กาญจนา สิมมา
07/09/54

ช่วยสนับสนุน HCTV จะได้มีข่าวอย่างนี้ ให้ชมต่อไป
ติดต่อสนับสนุน โทร 0-3231-0262 , 088-640-8035

ไม่มีความคิดเห็น: