โรงพยาบาลราชบุรีทำเก๋จัดกิจกรรมดนตรีบำบัด บรรเลงดนตรีไทยในโรงพยาบาล โดยกิจกรรมนี้เสียงดนตรีจะช่วยให้คนไข้และญาติได้ผ่อนคลาย ทั้งยังส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ด้านคนไข้เห็นดีและควรสนับสนุน
นายแพทย์สมชาย เทพเจริญนิรันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี เปิดเผยว่า กิจกรรมดนตรีบำบัด บรรเลงดนตรีไทยในโรงพยาบาลราชบุรี ซึ่งนักดนตรีอาสาสมัครโดยนักเรียนที่อยู่ในช่วงปิดเทอมได้อาสาสมัคร บรรเลงดนตรีไทยให้คนไข้และผู้ที่มาพบแพทย์ ที่โรงพายาบาลราชบุรี ได้รับฟัง โดยนักดนตรีได้บรรเลงขับกล่อมทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วันซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และยังเป็นการช่วยบำบัดโรคแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลอีกด้วย โดยดนตรีนั้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน
จากการวิจัยพบว่าผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด จึงนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัดประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีหลายประการ เช่น ช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ กระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ
ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและดนตรีบำบัดขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความซาบซึ้งในคุณค่าของงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
จากการวิจัยพบว่าผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด จึงนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัดประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีหลายประการ เช่น ช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ กระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ
ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและดนตรีบำบัดขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความซาบซึ้งในคุณค่าของงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
ภาพ/ข่าว ภัทรพงศ์ คำเปรม
21/10/53
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น