วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

สถานการณ์เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่ จ.ราชบุรี


สถานการณ์เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง จังหวัดราชบุรี


นายอนุสรณ์ พรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 10 ราชบุรี ได้กล่าวว่าจากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังระบาดในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 60 และพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ความรุนแรงของการระบาดยังไม่คอย ส่งผลกระทบต่อการปลูกมันสำปะหลังมากนัก เพราะจังหวัดราชบุรีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพิ่งระบาดเป็นปีแรก
แต่มีอีกปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ประสบมาเป็นเวลานาน นั่นคือ ปัญหาด้วงแมงจินูน ด้วงแมงจินูนจะระบาดในพื้นที่ที่เป็นดินทราย และจากการสอบถามเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้วงแมงจินูนกัดกินหัวมันสำปะหลัง ยังไม่มีวิธีป้องกันและกำจัด แต่ก็มีเกษตรกรบางรายอาศัยความช่างสังเกตุ การณ์ดำเนินชีวิตของแมงจินูน คือ เลือกปลูกมันมันสำปะหลัง
ในช่วงเดือนมีนาคม –เมษายน เพื่อจะได้ขุดมันสำปะหลัง ในช่วงเดือนตุลาคม -พฤศจิกายน ซึ่งอายุจะได้ประมาณ 7 เดือนผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 3-4 ตัน แต่ในระหว่างการปลูกต้องคอยดูแลรักษาอย่าปล่อยให้หญ้ารก
สำหรับผลกระทบจากการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
-ส่งผลให้ผลผลิตลดลงประมาณ 25-30%
-ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น จากการซื้อยาฉีดพ่นไล่เพลี้ยแป้ง
-การเก็บเกี่ยวผลผลิตเร็วขึ้น ขณะนี้เก็บไปแล้วประมาณ 80% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมันสำปะหลัง เดือนสิบสอง คือขุดช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม
-ด้านคุณภาพของเปอร์เซ็นต์แป้งจากการสอบถามเกษตรกรและลานมัน พบว่าเกษตรกรไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่คาดว่าน่าจะต่ำลงสังเกตได้จากราคาที่เกษตรกรเฉลี่ยประมาณ 1.86 บาท/กิโลกรัม
-ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ระหว่าง 2.5-3.0 ตัน (ผลผลิตเฉลี่ยของจังหวัด 3.5 ตัน/ไร่ ในปี 2552)

ภาพ/ข่าว วิทยา เอี่ยมสำอางค์
02 / 03 / 53

ไม่มีความคิดเห็น: