ศาลเยาวชนและครอบครัว สัมมนาเชิงปฎิบัติการ กระบวนการยุติธรรมเชิงเยียวยาแก้ไข เพื่อนำมาใช้ในศาลเยาวชน และครอบครัว มุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด ได้รับการอบรมสั่งสอน และกลับตัวเป็นพลเมืองดี โดยละเลิกการกระทำความผิดซ้ำอีกนางมณทิรา เชื้ออินทร์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชน และครอบครัว จังหวัดราชบุรี จัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ กระบวนการยุติธรรมเชิงเยียวยาแก้ไข โดยมีนางพฤษภา พนมยันตร์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง เป็นประธานเปิดการสัมมนา ที่ห้องเพชรชมภู โรงแรมโกลเด้นซิตี้ มีคณะผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษา และคณะผู้พิพากษาสมทบของศาลเยาวชน และครอบครัว จากจังหวัดต่างๆ ในภาค 7 เข้าร่วมการสัมมนา โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยาย
ปัจจุบันนี้เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มกระทำความผิดเพิ่มมากขึ้น การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดนั้น ตามกฎหมายมิได้มุ่งหวังที่จะลงโทษ แต่มุ่งที่จะฝึกอบรมสั่งสอนให้เด็กและเยาวชนกลับตนเป็นพลเมืองดี โดยปราศจากการกระทำผิดซ้ำอีก การพิจารณาคดีปกติมุ่งเน้นที่จะแก้ไขจำเลยมากกว่า เยียวยาผู้เสียหายหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมเชิงเยียวยาแก้ไข จึงเป็นมาตรการพิเศษในการเยียวยาผู้เสียหายและแก้ไขจำเลย ทั้งไม่ทอดทิ้งชุมชนไปพร้อมกัน ดังนั้นหากมีการนำมาใช้ในคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว น่าจะเกิดประโยชน์แก่เด็ก เยาวชน ผู้เสียหาย และชุมชนได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุดังกล่าว ศาลเยาวชนและครอบครัวทุกศาล จึงจำต้องวางระบบงานกระบวนการยุติธรรมเชิงเยียวยาแก้ไขไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมรองรับภารกิจดังกล่าว และการดำเนินการดังกล่าวนี้จะสำเร็จลุล่วงไปไม่ได้ หากผู้ปฎิบัติไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจถึงการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมเชิงเยียวยาแก้ไขอย่างแท้จริง การสัมมนาครั้งนี้ จึงเป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชน และครอบครัวฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ในเร็ววันนี้
ภาพ/ ข่าว ปรพล 6-3-52
ปัจจุบันนี้เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มกระทำความผิดเพิ่มมากขึ้น การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดนั้น ตามกฎหมายมิได้มุ่งหวังที่จะลงโทษ แต่มุ่งที่จะฝึกอบรมสั่งสอนให้เด็กและเยาวชนกลับตนเป็นพลเมืองดี โดยปราศจากการกระทำผิดซ้ำอีก การพิจารณาคดีปกติมุ่งเน้นที่จะแก้ไขจำเลยมากกว่า เยียวยาผู้เสียหายหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมเชิงเยียวยาแก้ไข จึงเป็นมาตรการพิเศษในการเยียวยาผู้เสียหายและแก้ไขจำเลย ทั้งไม่ทอดทิ้งชุมชนไปพร้อมกัน ดังนั้นหากมีการนำมาใช้ในคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว น่าจะเกิดประโยชน์แก่เด็ก เยาวชน ผู้เสียหาย และชุมชนได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุดังกล่าว ศาลเยาวชนและครอบครัวทุกศาล จึงจำต้องวางระบบงานกระบวนการยุติธรรมเชิงเยียวยาแก้ไขไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมรองรับภารกิจดังกล่าว และการดำเนินการดังกล่าวนี้จะสำเร็จลุล่วงไปไม่ได้ หากผู้ปฎิบัติไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจถึงการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมเชิงเยียวยาแก้ไขอย่างแท้จริง การสัมมนาครั้งนี้ จึงเป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชน และครอบครัวฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ในเร็ววันนี้
ภาพ/ ข่าว ปรพล 6-3-52
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น