สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 จังหวัดเพชรบุรี จัดโครงการอบรมหลักสูตร บทบาทอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานทางหลวงท้องถิ่น รุ่นที่ 10 / 2553 เพื่อชี้แจงนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ห้องประชุมเพชรชมพู โรงแรมโกลเด้นซิตี้ นายพยัพ วิเศษสิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 จังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานเปิดโครงการอบรมหลักสูตร บทบาทอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานทางหลวงท้องถิ่น รุ่นที่ 10 / 2553 พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
เกิดขึ้นเนื่องจากกฎหมายว่าด้วยทางหลวงได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บัญญัติต่างๆที่ใช้ในการควบคุม ดูแลรักษาทางหลวงยังไม่เหมาะสม และมาตรการสำหรับดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนไม่ได้ผลเท่าที่ควร และยังมีการใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนักบรรทุกเกิดกว่าที่กำหนดบนทางหลวง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวง และความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนทางหลวง โดยมีการยกฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลแล้ว สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยทางหลวงเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ยกเลิกบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสุขาภิบาล และกำหนดให้ผู้อำนวยการทางหลวง หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจเปรียบเทียบ ปรับ สำหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวได้ รวมทั้งปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา 23 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทางหลวงไว้ 3 ประการ คือ มีอำนาจในการตรวจตราดูแลมิให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายทางหลวง มีอำนาจในการเรียกยานพาหนะให้หยุด เพื่อตรวจสอบในกรณีที่เชื่อว่ามีการกระทำความผิดตามกฎหมายทางหลวง
และมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดว่าด้วยกฎหมายทางหลวงในขณะกระทำความผิด เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจดำเนินคดีต่อไป
ภาพ/ข่าว คมปิยะ อิษฎานนท์
12/05/53
12/05/53
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น