การประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดราชบุรี ครั้งที่ 5 / 2552 เพื่อหาแนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ห้องประชุมเล็ก ชั้น 3 ศาลกลางจังหวัดราชบุรี นายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดราชบุรี ครั้งที่ 5 / 2552 โดยมีเรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับ คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 ให้ดำเนินโครงการ “ไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง” มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีความสมัครสมานสามัคคี เกิดความรักชาติ ลดความขัดแย้งทางการเมือง ตลอดจนเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีของประเทศ จึงกำหนดให้จังหวัด และกทม. ร่วมกันร้องเพลงชาติไทยในเวลา 18.00 น. จังหวัดราชบุรีจะดำเนินการตามโครงการฯ ในวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2552 ณ สวนสาธารณะจักรีอนุสรณ์สถานเขาแก่นจันทน์
การรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 4 / 2552 เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2552 เรื่องเพื่อทราบ และพิจารณาเกี่ยวกับ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ในพื้นที่ อำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง และอำเภอบ้านคา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ตามความจำเป็น การซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ ซึ่งมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ ให้กระทำได้เฉพาะในกรณีเร่งด่วนจำเป็น เพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยการซ่อมแซมนั้นต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ได้รับงบประมาณดำเนินการในบริเวณนั้นอยู่แล้ว สำหรับการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องเป็นกรณีที่งบประมาณเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งตั้งไว้ในปีนั้นได้ใช้จ่ายหมดแล้ว และหากไม่ซ่อมแซมจะบังเกิดความเสียหายต่อสิ่งสาธารณประโยชน์ หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรโดยส่วนรวม สิ่งสาธารณประโยชน์ที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการซ่อมแซมนาน ให้ใช้งบประมาณปกติดำเนินการ สำหรับสะพานหรือถนน ที่ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ให้ก่อสร้างสะพานคอนกรีตทดแทน หรือก่อสร้างสะพานไม้ชั่วคราว หรือท่อเหลี่ยม ค.ส.ล. ขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมได้เท่าที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งนี้การก่อสร้างสะพานคอนกรีตทดแทนต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างไม่เกิน 45 วัน กรณีในเขตชุมชนที่เกิดภัยพิบัติเป็นระยะเวลานาน ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา ให้จัดทำสะพานไม้ทางเดินชั่วคราวได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามความจำเป็น
ภาพ / ข่าว คมปิยะ 6 – 11 - 52
การรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 4 / 2552 เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2552 เรื่องเพื่อทราบ และพิจารณาเกี่ยวกับ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ในพื้นที่ อำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง และอำเภอบ้านคา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ตามความจำเป็น การซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ ซึ่งมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ ให้กระทำได้เฉพาะในกรณีเร่งด่วนจำเป็น เพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยการซ่อมแซมนั้นต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ได้รับงบประมาณดำเนินการในบริเวณนั้นอยู่แล้ว สำหรับการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องเป็นกรณีที่งบประมาณเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งตั้งไว้ในปีนั้นได้ใช้จ่ายหมดแล้ว และหากไม่ซ่อมแซมจะบังเกิดความเสียหายต่อสิ่งสาธารณประโยชน์ หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรโดยส่วนรวม สิ่งสาธารณประโยชน์ที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการซ่อมแซมนาน ให้ใช้งบประมาณปกติดำเนินการ สำหรับสะพานหรือถนน ที่ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ให้ก่อสร้างสะพานคอนกรีตทดแทน หรือก่อสร้างสะพานไม้ชั่วคราว หรือท่อเหลี่ยม ค.ส.ล. ขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมได้เท่าที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งนี้การก่อสร้างสะพานคอนกรีตทดแทนต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างไม่เกิน 45 วัน กรณีในเขตชุมชนที่เกิดภัยพิบัติเป็นระยะเวลานาน ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา ให้จัดทำสะพานไม้ทางเดินชั่วคราวได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามความจำเป็น
ภาพ / ข่าว คมปิยะ 6 – 11 - 52
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น