พิธีเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดราชบุรี ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2552 ที่ลำน้ำแม่กลอง ริมเขื่อนรัฐประชาพัฒนา นานมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดราชบุรี ประจำปี 2552 นายวันชัย ธีระสัตยกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด กล่าวรายงานว่า การแข่งขันเรือยาวของจังหวัดราชบุรี เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยชาวไทยรามัญ ได้ช่วยกันทำเรือยาวขึ้นมา เพื่อแข่งขันกันเองในเทศกาลออกพรรษา หรือช่วงเทศกาลทอดกฐินของทุกปี และในราวปี พ.ศ. 2529 จังหวัดราชบุรี ได้รื้อฟื้นการแข่งขันเรือยาวขึ้นอีกครั้งในงานปิดทองประจำปี ถ้ำฤาษีเขางู โดยใช้ลำน้ำแม่กลองเป็นสนามแข่งขัน และได้จัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปีจนถึงปี พ.ศ. 2533 แต่ด้วยเหตุที่สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปทำให้การแข่งขันหยุดไประยะหนึ่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของการแข่งขันเรือยาว ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามที่มีมาแต่โบราณให้ดำรงคงไว้ จึงได้จัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมการแข่งขันเรือยาว ขนาดไม่เกิน 30 ฝีพาย ซึ่งยังมีอยู่ในชุมชนต่างๆ บริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำข้างเคียงได้นำเรือมาร่วมแข่งขัน และเพื่อสืบทอดสู่เยาวชนในท้องถิ่นให้เห็นความสำคัญ และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการอนุรักษ์พัฒนา เพื่อนำเสนอให้ชุมชนทุกหมู่เหล่าได้ตระหนัก และภาคภูมิใจในประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในบรรยากาศของความสนุกสนาน ความสามัคคีเพื่อจรรโลงสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามให้ยั่งยืนต่อไป
การแข่งขันเรือยาวประเพณีในวันนี้จัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภทเรือยาวทั่วไป ขนาด 24 ฝีพาย ไม่เกิน 30 ฝีพาย มีเรือสมัครเข้าแข่งขัน จำนวน 10 ลำ และประเภทเรือยาวพื้นบ้านในจังหวัดราชบุรี ขนาด 24 ฝีพาย ไม่เกิน 30 ฝีพาย มีเรือสมัครเข้าแข่งขัน จำนวน 9 ลำ
การจัดงานครั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ได้รับความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากจังหวัดราชบุรี กรมการทหารช่าง จังหวัดทหารบกราชบุรี ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดราชบุรี สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 3 สถานีตำรวจภูธรเมืองราชบุรี เทศบาลเมืองราชบุรี ศูนย์ปฏิบัติการระบบท่อเขต 5 จังหวัดราชบุรี บริษัทราชบุรีเพาเวอร์จำกัด บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด บริษัทไตรเอนเนอจี้ จำกัด กองทุนพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน ทำให้การจัดงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ผลการแข่งขันปรากฏว่า เรือที่ชนะการแข่งขันประเภทเรือยาวทั่วไป ขนาด 24 ฝีพาย ไม่เกิน 30 ฝีพาย ได้แก่ เรือเจ้านาง จากอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเรือที่ชนะการแข่งขันประเภทเรือยาวพื้นบ้านในจังหวัดราชบุรี ขนาด 24 ฝีพาย ไม่เกิน 30 ฝีพาย คือ เรือศรีลำดวน จากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ส่วนรางวัลกองเชียร์ชนะเลิศ ตกเป็นของเรือหนุ่มโพหัก จากอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
ภาพ / ข่าว คมปิยะ 23 – 11 - 52
การแข่งขันเรือยาวประเพณีในวันนี้จัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภทเรือยาวทั่วไป ขนาด 24 ฝีพาย ไม่เกิน 30 ฝีพาย มีเรือสมัครเข้าแข่งขัน จำนวน 10 ลำ และประเภทเรือยาวพื้นบ้านในจังหวัดราชบุรี ขนาด 24 ฝีพาย ไม่เกิน 30 ฝีพาย มีเรือสมัครเข้าแข่งขัน จำนวน 9 ลำ
การจัดงานครั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ได้รับความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากจังหวัดราชบุรี กรมการทหารช่าง จังหวัดทหารบกราชบุรี ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดราชบุรี สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 3 สถานีตำรวจภูธรเมืองราชบุรี เทศบาลเมืองราชบุรี ศูนย์ปฏิบัติการระบบท่อเขต 5 จังหวัดราชบุรี บริษัทราชบุรีเพาเวอร์จำกัด บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด บริษัทไตรเอนเนอจี้ จำกัด กองทุนพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน ทำให้การจัดงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ผลการแข่งขันปรากฏว่า เรือที่ชนะการแข่งขันประเภทเรือยาวทั่วไป ขนาด 24 ฝีพาย ไม่เกิน 30 ฝีพาย ได้แก่ เรือเจ้านาง จากอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเรือที่ชนะการแข่งขันประเภทเรือยาวพื้นบ้านในจังหวัดราชบุรี ขนาด 24 ฝีพาย ไม่เกิน 30 ฝีพาย คือ เรือศรีลำดวน จากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ส่วนรางวัลกองเชียร์ชนะเลิศ ตกเป็นของเรือหนุ่มโพหัก จากอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
ภาพ / ข่าว คมปิยะ 23 – 11 - 52
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น