สาธารณสุขจัดทำโครงการฟันเทียมพระราชทานให้ผุ้สุงอายุที่สูญฟันทั้งปากตั้งแต่ปี 2552 - 2554 จำนวน 90,000 รายเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปี 2554ที่โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จ. ราชบุรี นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย และแพทย์หญิงวิลาวัลย์ จึงประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต4 ร่วมในพิธีมอบสิทธิ์ทำฟันเทียมพระราชทานในปี 2552 พร้อมรับมอบเงินสนับสนุนโครงการฟันเทียมพระราชทาน 546,000 บาท จากรองประธานกรรมการบริหารบริษัทโอสถสภาจำกัด และเปิดประชุมเชิงวิชาการปฏิบัติการ “ยิ้มสร้างสุข” ในโครงการฟันเทียมพระราชทานจังหวัดราชบุรี
นายมานิต กล่าวว่า ขณะนี้สัดส่วนของผู้สูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุนอกจากมีปัญหาด้านสุขภาพจากความเสื่อมของร่างกายแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องสูญเสียฟันจนเคี้ยวอาหารไม่ได้ ทำให้ได้รับสารอาหารเพื่อสุขภาพไม่ครบถ้วน ผลสำรวจล่าสุดในปี 2550 มีผู้สูงอายุไม่เหลือฟันเคี้ยวอาหารเลยร้อยละ 10 หรือประมาณ 700,000 ราย และมีความต้องการใส่ฟันเทียม 250,000 ราย พบในภาคกลางมากที่สุด และจากแนวโน้มผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากร้อยละ 10 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 20 ในปี 2568 คาดว่ามีปัญหาผู้สูงอายุไร้ฟันเคี้ยวอาหารมากขึ้นตามไปด้วย กระทรวงสาธารณสุขมีแผนรับมือและบรรเทาปัญหาให้น้อยลง โดยขยายโครงการฟันเทียมพระราชทาน ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548-2551 ออกไปอีก 3 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2552 - 2554 ตั้งเป้าใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน ปีละ 30,000 ราย รวม 90,000 ราย เพื่อเตรียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปีพ.ศ. 2554
โดยโครงการดังกล่าว ได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้ร่วมสนับสนุนเงินทุน และให้โรงพยาบาล คลินิกเอกชน ร่วมจัดบริการ ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการมากขึ้น และได้รับฟันเทียมเร็วขึ้น ขณะเดียวกัน มีนโยบายให้กรมอนามัยพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก เพื่อลดการศูนย์เสียฟันในระยะยาวด้วย
ภาพ/ข่าว ธนชาติ 10-3-52
นายมานิต กล่าวว่า ขณะนี้สัดส่วนของผู้สูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุนอกจากมีปัญหาด้านสุขภาพจากความเสื่อมของร่างกายแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องสูญเสียฟันจนเคี้ยวอาหารไม่ได้ ทำให้ได้รับสารอาหารเพื่อสุขภาพไม่ครบถ้วน ผลสำรวจล่าสุดในปี 2550 มีผู้สูงอายุไม่เหลือฟันเคี้ยวอาหารเลยร้อยละ 10 หรือประมาณ 700,000 ราย และมีความต้องการใส่ฟันเทียม 250,000 ราย พบในภาคกลางมากที่สุด และจากแนวโน้มผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากร้อยละ 10 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 20 ในปี 2568 คาดว่ามีปัญหาผู้สูงอายุไร้ฟันเคี้ยวอาหารมากขึ้นตามไปด้วย กระทรวงสาธารณสุขมีแผนรับมือและบรรเทาปัญหาให้น้อยลง โดยขยายโครงการฟันเทียมพระราชทาน ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548-2551 ออกไปอีก 3 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2552 - 2554 ตั้งเป้าใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน ปีละ 30,000 ราย รวม 90,000 ราย เพื่อเตรียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปีพ.ศ. 2554
โดยโครงการดังกล่าว ได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้ร่วมสนับสนุนเงินทุน และให้โรงพยาบาล คลินิกเอกชน ร่วมจัดบริการ ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการมากขึ้น และได้รับฟันเทียมเร็วขึ้น ขณะเดียวกัน มีนโยบายให้กรมอนามัยพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก เพื่อลดการศูนย์เสียฟันในระยะยาวด้วย
ภาพ/ข่าว ธนชาติ 10-3-52
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น