สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี จัดประชุมเตรียมความพร้อม การแก้ไขปัญหาโรงงานฟอกย้อม บริษัท S.V.M. เท็กซ์ไทล์ จำกัด ก่อนจัดประชุมจริง ในวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2552 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีที่ห้องประชุม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี นายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาโรงงานฟอกย้อม ของ บริษัท S.V.M. เท็กซ์ไทล์ จำกัด เพื่อหารือเบื้องต้น ก่อนการประชุมจริง ในวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2552 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมประชุมโดยเฉพาะผู้บริหารของ บริษัท S.V.M. เท็กซ์ไทล์ จำกัด
ในที่ประชุม เป็นการปรึกษาหารือ ตอบข้อซักถามต่าง ๆ ของปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นค่า PH ของน้ำบริเวณรอบ ๆ โรงงานที่เกินค่ามาตรฐาน ความเค็มของน้ำที่เกินค่ามาตรฐาน เพราะถ้าน้ำมีความเค็มสูง การนำไฟฟ้าก็จะสูงตามไปด้วย แต่เนื่องจากน้ำที่ปล่อยออกจากโรงงาน ต้องผ่านพื้นที่ของเอกชนก่อนที่จะไหลลงสู่คลองขุดลัดราชบุรี ทำให้เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณรอบ ๆ โรงงานได้รับความเสียหาย เพราะเกิดผลกระทบกับผลผลิตพืชไร่ของชาวบ้าน
ในเบื้องต้น ได้รับการปฏิเสธจากผู้บริหารโรงงาน เพราะในบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน ยังมีค่า PH อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ประธานการประชุมจึงเสนอให้ทางโรงงานทำ Action plan โดยใช้ขบวนการบำบัดน้ำเสียเต็มระบบ ให้เวลาในการดำเนินการระยะหนึ่ง ปัญหาทุกอย่างจะได้หมดไป แต่ทางผู้บริหารโรงงานบอกว่า ปัจจุบันไม่สามารถซื้อน้ำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ เนื่องจากติดที่สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านท้ายเมือง บอกว่าผิดหลักการ เพราะน้ำที่สหกรณ์จังหวัดราชบุรีสูบขึ้นมาใช้ในการเกษตรเท่านั้น ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ใช้ในการอุตสาหกรรม ซึ่งทางโรงงานรับปากจะจัดทำขบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเต็มระบบ ถ้าหน่วยงานภาครัฐประนีประนอมในเรื่องของน้ำ เพราะส่วนหนึ่งทางโรงงานต้องใช้ในการฟอกย้อม และส่วนหนึ่งต้องใช้น้ำในการเจือจางน้ำเสีย มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ เทศบาลตำบลหลักเมือง สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านท้ายเมือง และกรมชลประทาน
ประธานการประชุมขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อทุกฝ่ายจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้โดยปราศจากข้อขัดแย้ง ส่วนบริษัทฟอกย้อมนั้น ถ้าเป็นการพิสูจน์ทราบเพื่อความโปร่งใสของการดำเนินการของโรงงานว่าปราศจากมลภาวะเป็นพิษ ถ้าจะต้องเช่าหรือซื้อที่ดินบริเวณรอบโรงงาน เพื่อเพาะปลูกพืชผักหรือเลี้ยงปลา ว่าไม่เกิดผลกระทบดังที่ชาวบ้านกล่าวหา ก็ควรที่ทางบริษัท ต้องบริหารจัดการในส่วนของบริษัทเอง และจะเป็นข้อพิสูจน์ความผิดถูก เป็นการลดแก้ปัญหาความขัดแย้งจากทั้งสองฝ่ายไปสู่ข้อยุติในที่สุด ภาพ/ข่าว ปรพล 2-3-52
ในที่ประชุม เป็นการปรึกษาหารือ ตอบข้อซักถามต่าง ๆ ของปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นค่า PH ของน้ำบริเวณรอบ ๆ โรงงานที่เกินค่ามาตรฐาน ความเค็มของน้ำที่เกินค่ามาตรฐาน เพราะถ้าน้ำมีความเค็มสูง การนำไฟฟ้าก็จะสูงตามไปด้วย แต่เนื่องจากน้ำที่ปล่อยออกจากโรงงาน ต้องผ่านพื้นที่ของเอกชนก่อนที่จะไหลลงสู่คลองขุดลัดราชบุรี ทำให้เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณรอบ ๆ โรงงานได้รับความเสียหาย เพราะเกิดผลกระทบกับผลผลิตพืชไร่ของชาวบ้าน
ในเบื้องต้น ได้รับการปฏิเสธจากผู้บริหารโรงงาน เพราะในบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน ยังมีค่า PH อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ประธานการประชุมจึงเสนอให้ทางโรงงานทำ Action plan โดยใช้ขบวนการบำบัดน้ำเสียเต็มระบบ ให้เวลาในการดำเนินการระยะหนึ่ง ปัญหาทุกอย่างจะได้หมดไป แต่ทางผู้บริหารโรงงานบอกว่า ปัจจุบันไม่สามารถซื้อน้ำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ เนื่องจากติดที่สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านท้ายเมือง บอกว่าผิดหลักการ เพราะน้ำที่สหกรณ์จังหวัดราชบุรีสูบขึ้นมาใช้ในการเกษตรเท่านั้น ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ใช้ในการอุตสาหกรรม ซึ่งทางโรงงานรับปากจะจัดทำขบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเต็มระบบ ถ้าหน่วยงานภาครัฐประนีประนอมในเรื่องของน้ำ เพราะส่วนหนึ่งทางโรงงานต้องใช้ในการฟอกย้อม และส่วนหนึ่งต้องใช้น้ำในการเจือจางน้ำเสีย มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ เทศบาลตำบลหลักเมือง สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านท้ายเมือง และกรมชลประทาน
ประธานการประชุมขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อทุกฝ่ายจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้โดยปราศจากข้อขัดแย้ง ส่วนบริษัทฟอกย้อมนั้น ถ้าเป็นการพิสูจน์ทราบเพื่อความโปร่งใสของการดำเนินการของโรงงานว่าปราศจากมลภาวะเป็นพิษ ถ้าจะต้องเช่าหรือซื้อที่ดินบริเวณรอบโรงงาน เพื่อเพาะปลูกพืชผักหรือเลี้ยงปลา ว่าไม่เกิดผลกระทบดังที่ชาวบ้านกล่าวหา ก็ควรที่ทางบริษัท ต้องบริหารจัดการในส่วนของบริษัทเอง และจะเป็นข้อพิสูจน์ความผิดถูก เป็นการลดแก้ปัญหาความขัดแย้งจากทั้งสองฝ่ายไปสู่ข้อยุติในที่สุด ภาพ/ข่าว ปรพล 2-3-52
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น