วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

โรงไฟฟ้าราชบุรีร่วมกับ 3 หน่วยงานลงบันทึกโครงการ ต้นแบบชุมชนตาสว่าง


โรงไฟฟ้าราชบุรี และโรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์ ร่วมกับ 3 หน่วยงาน ในจังหวัดราชบุรี ลงบันทึกความร่วมมือโครงการ ต้นแบบชุมชนตาสว่าง ชุมชนสุขภาพดี 4 มุมเมือง เพื่อส่งเสริมและป้องกันรักษาฟื้นฟูปัญหาตาบอดและสายตาเลืดร.สุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายแพทย์บุญเรียง ชูชัยแสงรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี นายแพทย์ธนินทร์ พันธุเตชะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี นายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด นายสำคัญ รัศมีบรรจงกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ โครงการ “ต้นแบบชุมชนตาสว่าง” เพื่อส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ปัญหาตาบอดและสายตาเลือนรางในกลุ่มโรคตาของชาวจังหวัดราชบุรี
ดร.สุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล กล่าวว่า ได้รับการรายงานในเบื้องต้นจากโรงพยาบาลราชบุรี ถึงสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาบนพื้นฐานของระบบสุขภาพสายตาของจังหวัดราชบุรี พบว่าในปี พ.ศ. 2548-2549 ได้มีจัดทำโครงการจังหวัดสุขภาพตาดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในการพัฒนาระบบการดูแลรักษาโรคตาในระดับตติยภูมิ รวมทั้งการคัดกรองโรคตาในพื้นที่ที่ไม่มีหน่วยบริการโรคตา และต่อมาปี พ.ศ. 2550 จังหวัดได้สนับสนุนงบประมาณดำเนินการขยายผลการจัดทำโครงการมาเป็นลำดับ
นายแพทย์ธนินทร์ พันธุเตชะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี กล่าวว่า จากการที่จังหวัดราชบุรีได้สนับสนุนงบประมาณดำเนินการขยายผลโครงการ ต้นแบบชุมชนสุขภาพตาดีนั้น ในปี 2550 โรงพยาบาลราชบุรี ได้กำหนดพื้นที่นำร่องใน 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลพงสวาย ตำบลโคกหม้อและตำบลเขางู โดยนำรูปแบบการดำเนินการแบบบูรณาการโดยยึดนโยบายขององค์การอนามัยโลก version 2020 ร่วมกับของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้แนวคิดดูแลสุขภาพแบบพอเพียงและการบริหารการเปลี่ยนแปลงเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถตั้งรูปแบบชุมชนสุขภาพตาดีในพื้นที่นำร่องได้สำเร็จ และต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาจากระบบปฐมภูมิสู่ระบบตติยภูมิ
ทางด้านนายแพทย์บุญเรียง ชูชัยแสงรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงประจักษ์ของจังหวัดราชบุรีพบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ประสบปัญหาตาบอดและสายตาเลือนรางนั้น สามารถป้องกันหรือรักษาได้หากพบผู้ป่วยในระยะแรก โดยมีอัตราคนตาบอด คิดเป็นร้อยละ 0.7 และอัตราการส่งต่อจากระดับปฐมภูมิไปยังระดับตติยภูมิเฉลี่ยร้อยละ 30 โดยสาเหตุหลักเกิดจากโรคต้อกระจก โรคต้อหิน โรคจุดรับภาพเสื่อมและโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและความผิดปกติของสายตา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ในวันนี้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและตระหนักในเรื่องดังกล่าว
นายประจวบ อุชชิน ได้ตระหนักถึงเรื่องปัญหาสุขภาพของประชาชนในจังหวัดราชบุรีเสมอมา โดยได้ร่วมมือกับ บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด จัดโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และทันตกรรม ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าราชบุรีมาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2552 นี้ นับเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ทั้ง 2 บริษัทฯ ได้มีโอกาสร่วมจัดโครงการ “ต้นแบบชุมชนตาสว่าง” เพื่อสร้างรูปแบบของการส่งเสริมสุขภาพตาและการป้องกันปัญหาตาบอด สายตาเลือนรางจากโรคตาที่ป้องกันได้ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าราชบุรี โดยจะเน้นการส่งเสริมสุขภาพตาพื้นฐานในชุมชน แบบบูรณาการเป็นหลักเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดราชบุรี รวมทั้งบริหารจัดการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการดูแลรักษาโรคตาได้อย่างเป็นธรรม ในการเข้าร่วมโครงการ “ต้นแบบชุมชนตาสว่าง” ในครั้งนี้ บรษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด และ บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด ได้สนับสนุนงบประมาณดำเนินการในการตรวจคัดกรองโรคตาในชุมชนพื้นที่ 5 ตำบล รอบโรงไฟฟ้าราชบุรี ได้แก่ ต.ท่าราบ ต.บางป่า ต.สามเรือน ต.พิกุลทอง และ ต.วัดแก้ว รวมถึงการจัดทำแว่นสายตาให้แก่ประชาชนที่มีปัญหาด้านสายตาแต่ขาดทุนทรัพย์ด้วย ภายใต้โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และทันตกรรมประจำปี 2552 โรงไฟฟ้าราชบุรี



ภาพ/ข่าว ภัทรพงศ์ 02-03-52 เวลา 15.30 น.อนราง ที่ห้องประชุม 1 โรงพยาบาลราชบุรี

ไม่มีความคิดเห็น: