สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรีให้การต้อนรับผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 4 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตรวจราชการแบบบูรณาการ เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาล
ที่ห้องประชุมหลวงยกกระบัตร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี นาย สมศักดิ์ โยนกพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ให้การต้อนรับ แพทย์หญิง วิลาวัลย์ จึงประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 4 และนายแพทย์ ศิววงศ์ เหมือนละม้าย ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 4 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตรวจราชการแบบบูรณาการ เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาล มี 2 โครงการใหญ่ๆ คือ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ประจำปีงบประมาณ 2552 และโครงการดูแลสุขภาพนักเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนฯราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เนื่องจากสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดโรคเอดส์ในจังหวัดราชบุรีพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2532 – 1 ธันวาคม 2551 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์สะสม 5,252 ราย เป็นชาย 3,702 ราย หญิง 1,550 ราย เสียชีวิตแล้ว 1,053 ราย เหลือผู้ป่วยที่มีชีวิต 4,199 ราย ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน มีแนวโน้มของผู้ป่วยลดลงแต่กลุ่มอายุของผู้ป่วยกลับน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วงวัยเรียนมัธยม
จังหวัดราชบุรีมีการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในภาพรวมของจังหวัดโดยดำเนินงานในรูปของคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัด ประกอบไปด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ มีศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขฯ ทำหน้าที่ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์โรคเอดส์ของจังหวัด ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายโดยใช้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัดด้วย
จากการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ที่ผ่านมาพบว่า ทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแต่ปัญหาหลักอยู่ที่ผู้ป่วยที่จะมาขอรับบริการคือ ไม่กล้าเปิดเผยแสดงตัวตนเพื่อขอรับการสงเคราะห์จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ภาพ/ข่าว ปรพล
เนื่องจากสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดโรคเอดส์ในจังหวัดราชบุรีพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2532 – 1 ธันวาคม 2551 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์สะสม 5,252 ราย เป็นชาย 3,702 ราย หญิง 1,550 ราย เสียชีวิตแล้ว 1,053 ราย เหลือผู้ป่วยที่มีชีวิต 4,199 ราย ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน มีแนวโน้มของผู้ป่วยลดลงแต่กลุ่มอายุของผู้ป่วยกลับน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วงวัยเรียนมัธยม
จังหวัดราชบุรีมีการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในภาพรวมของจังหวัดโดยดำเนินงานในรูปของคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัด ประกอบไปด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ มีศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขฯ ทำหน้าที่ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์โรคเอดส์ของจังหวัด ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายโดยใช้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัดด้วย
จากการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ที่ผ่านมาพบว่า ทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแต่ปัญหาหลักอยู่ที่ผู้ป่วยที่จะมาขอรับบริการคือ ไม่กล้าเปิดเผยแสดงตัวตนเพื่อขอรับการสงเคราะห์จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ภาพ/ข่าว ปรพล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น