วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเหล่ามะละกอ ฝึกอบรมโครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนปี 2552 กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเหล่ามะละกอ


กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเหล่ามะละกอ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จัดการฝึกอบรมโครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนปี 2552 โดยนายอุบล แช่มช้อย ปราชญ์ชาวบ้าน และคณะกรรมการกลุ่มฯ ร่วมให้ความรู้แก่เกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงที่ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเหล่ามะละกอ หมู่ 15 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี นายอุบล แช่มช้อย ปราชญ์ชาวบ้านและคณะกรรมการกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเหล่ามะละกอ เปิดการอบรมโครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนปี 2552 ให้แก่เกษตรกรจาก ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง และผู้ที่สนใจจากอำเภอใกล้เคียง จำนวน 69 คน ตามนโยบายของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี และสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้ พัฒนาการประกอบอาชีพอย่างปลอดภัย ใช้สารอินทรีย์ในการเพิ่มผลผลิตและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้สารสมุนไพรไล่แมลง ผลิตน้ำยาชนิดต่างๆใช้ในครัวเรือนได้เอง การทำบัญชีครัวเรือน การสร้างความเข้มแข็งให้ครัวเรือนและชุมชน โดยการสร้างกลุ่มสร้างเครือข่ายและบริหารงานกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเข้มแข็งสามารถอยู่ได้
ในปีงบประมาณ 2551 จังหวัดราชบุรีได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ 1 แห่งและทำการคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้าน คือนายอุบล แช่มช้อย เป็นรองประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเหล่ามะละกอ ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 21 หมู่ 15 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยกิจกรรมหลักของกลุ่มคือการผลิต ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ สมุนไพรป้องกันโรคพืช ไล่แมลง ฮอร์โมนไข่ จุลินทรีย์ น้ำส้มควันไม้ น้ำยาเอนกประสงค์ ใช้กันเองภายในกลุ่มและเพื่อนบ้านใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นวิทยากรในการผลิตปุ๋ยหมักและฮอร์โมนต่างๆให้กับกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักในจังหวัดราชบุรี รวมถึงเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกรจากจังหวัดใกล้เคียงต่างๆ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่ดำเนินงานร่วมกันจนประสบความสำเร็จ ทำให้เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ของสมาชิกเกษตรกร 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน ปี 2552 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานจังหวัดราชบุรี และโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี กับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การสนับสนุน โดยมีหลักสูตรวิถีชีวิต แบ่งเป็น 2 แบบคือ 1.แบบ 4 วัน 3 คืน 2. แบบ 5 วัน 4 คืน ซึ่งเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมทั้งหมดจะต้องพักค้างคืนอยู่ภายในศูนย์ ตลอดระยะเวลาของการอบรม
ภาพ/ข่าว ภัทรพงศ์ ปรพล

ไม่มีความคิดเห็น: