สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือกับ 20 โรงเรียนในจังหวัดราชบุรี พลิกฟื้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมือราชบุรี รองศาสตร์ตราจารย์ ดร. เสาวภา พรสิริพงษ์ ผู้ประสานงานโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นราชบุรี เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคกลาง เพื่อสร้างสำนึกรักบ้านเกิดให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยให้นักเรียนภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาเลือกเรื่องราวของในท้องถิ่นที่น่าสนใจขึ้นมาศึกษา ด้วยหวังว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นน่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ นอกจากนั้นยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่สามารถบูรณาการไปสู่การเรียนรู้การสอนในโรงเรียนในอนาคต ซึ่งจังหวัดราชบุรี มีโรงเรียนระดับมัธยมที่เข้าร่วมโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นราชบุรี จำนวน 20 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฎ์ นารีวิทยา ปากท่อพิทยาคม รัตนราษฎร์บำรุง วัดบ้านโป่งสามัคคีคุณูปถัมภ์ โสภณศิริราษฎร์ ช่องพรานวิทยา ประสาทรัฐประชากิจ บรมราชินีนาถราชวิทยาลัย โพธาวัฒนาเสนี ราชโบริกานุเคราะห์ สวนผึ้งวิทยา สายธรรมจันทร์ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง บางแพปฐมพิทยา โพหักวงศ์สมบูรณ์ราษฎร์อุปถัมภ์ วัดดอนตูม และวัดสันติการาม โดยมีตัวอย่างโครงการยุววิจัยฯที่น่าสนใจ ได้แก่ จอมบึง บึงน้ำงามที่หายไป ผ้าขาวม้า วิถีชีวิตชาวหัวเขาจีน การเก็บมูลค้างคาวที่วัดเขาช่องพราน ปูนแดงราชบุรี การศึกษาภูมินามตามรอยประพาสต้น การศึกษาอัตลักษณ์ของมอญบ้านโป่งผ่านประเพณีบวชแบบมอญ ตามรอยกระเหรี่ยงบ้านคา อัตลักษณ์ของชุมชนคนลาวเวียงในโพธาราม และย้อนรอยบ้านโป่งกับมหาสงครามเอเชียบูรพา เป็นต้น
ซึ่งทางโครงการยุววิจัยฯ ได้จัดกิจกรรม “เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองราชบุรีขึ้น ณ ห้องประชุมอาคาร 1 ชั้น 6 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี สำหรับในกิจกรรมมีโรงเรียนที่จะมาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนถึง 11 โรงเรียน จำนวน 11 โครงการ ทุกโครงการล้วนน่าสนใจและน่าติดตาม และได้เป็นผู้บุกเบิกโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคมอีกด้วย
ภาพ/ข่าว ภัทรพงศ์
ซึ่งทางโครงการยุววิจัยฯ ได้จัดกิจกรรม “เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองราชบุรีขึ้น ณ ห้องประชุมอาคาร 1 ชั้น 6 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี สำหรับในกิจกรรมมีโรงเรียนที่จะมาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนถึง 11 โรงเรียน จำนวน 11 โครงการ ทุกโครงการล้วนน่าสนใจและน่าติดตาม และได้เป็นผู้บุกเบิกโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคมอีกด้วย
ภาพ/ข่าว ภัทรพงศ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น