หม่อมราชวงศ์ ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ นักชิมเบอร์ 1 ของประเทศไทยเจ้าของ ลิขสิทธิ์ เชลล์ชวนชิม เปิดร้านไชโป๊หวาน ตลาดเจ็ดเสมียน เปิดปูมประวัติ ไชโป๊หวาน แม่กิมฮวย OTOP แชมเปี้ยน 5 ดาว 3 ปีซ้อนของดีเมืองราชบุรีที่คนลืม
ที่ร้านแม่กิมฮวย หัวไชโป๊หวาน เลขที่ 10 หมู่ 2 ต. เจ็ดเสมียน อ. โพธาราม จ. ราชบุรี ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ เจ้าของลิขสิทธิ์เชลล์ชวนชิมผู้โด่งดัง เป็นประธานพิธีเปิดร้านแม่กิมฮวย หัวไชโป๊หวานซึ่งดำเนินการมายาวนานเกือบสามทศวรรษ เป็นผลิตผลของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดราชบุรี จนผู้คนทั้งประเทศรู้ว่าไชโป๊หวานของจริง ต้องไชโป๊หวานของตลาดเจ็ดเสมียน ราชบุรี เท่านั้น
พิธีการเริ่มจากการแสดงของนักแสดงยุวชนของกลุ่มภัทราวดีเธียเตอร์ ( สวนศิลป์ บ้านดิน ) อำนวยการฝึกสอนโดย อาจารย์ มานพ มีจำรัส ซึ่งนำเอาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยประยุกต์ เข้ากับศิลปะรุ่นใหม่ เป็นศิลปะร่วมสมัยอย่างสวยงามและลงตัว นำมาจัดแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชื่นชมความสามารถของนักแสดงตัวน้อย ๆ เหล่านี้ จากนั้นทายาทรุ่นที่ 5 ของตำนานไชโป๊หวานแม่กิมฮวย จึงกล่าวรายงานความเป็นมาของไชโป๊หวาน OTOP คู่แผ่นดินโดยกล่าวว่า เมื่อ 60 ปีมาแล้ว เมื่อลมหนาวมาเยือน ช่วงเดือน ธ.ค. –ม.ค. ของทุกปี จังหวัดราชบุรีจะมีการปลูกหัวไชเท้ากันมาก ชาวตำบลเจ็ดเสมียนกลุ่มหนึ่ง ได้นำหัวไชเท้ามาแปรรูปเป็นหัวไชเท้าเค็มโดยใช้เกลือทะเลจาก จ. สมุทรสงครามและ จ. เพชรบุรี พร้อมกับจัดจำหน่ายให้แก่พ่อค้าคนกลางที่ กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ต่อมาราวปีพ.ศ. 2506 แม่ฮวยได้เริ่มผลิตไชโป๊หวาน จำหน่ายที่หน้าร้าน ณ ตำบลเจ็ดเสมียนแห่งนี้ พร้อมกับส่งจำหน่ายให้กับพ่อค้าที่เยาวราช เป็นที่ขายดิบขายดียิ่ง กิจการเจริญก้าวหน้าตามลำดับ แต่ไชโป๊หวานเมื่อไปถึงกรุงเทพฯ ได้กลายพันธุ์เป็น ไชโป๊หวานสุรินทร์ จนกระทั่ง ปลายปี พ.ศ. 2507 จึงได้ส่งตัวอย่างสินค้า เพื่อให้ ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ชิม และไชโป๊หวานแม่กิมฮวย ก็ได้รับประกาศนียบัตร รับรองความอร่อย “เชลล์ชวนชิม” จากบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน 2528 นับแต่วันนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ รวมเป็นเวลา 23 ปี ที่ทำให้ผู้คนเข้าใจถูกต้องว่าไชโป๊หวาน ที่หวานกรอบ อร่อย แท้จริงแล้ว มาจาก จ. ราชบุรี แทบทั้งสิ้น และจากข้อมูลของ ก. อุตสาหกรรม ปีพ.ศ. 2549 รายงานว่า ตำบลเจ็ดเสมียน เป็นแหล่งผลิตไชโป๊ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และจากการส่งเสริมของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ จัดประกวดคัดสรร 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล หรือที่รู้จักกันดีว่า OTOP แชมเปี้ยน ไชโป๊หวานแม่กิมฮวยได้รับคัดสรรเป็น OTOP แชมเปี้ยน 5 ดาว 3 ปีซ้อน นอกจากนี้โรงงานใช้โป๊หวานแม่กิมฮวยยังได้รับการรับรองหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่ดี ในการผลิตอาหารหรือ G.M.P. และมาตรฐานอาหารฮาฬาลอีกด้วย
สำหรับการตลาดของไชโป๊หวานแม่กิมฮวย มีจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยต่างประเทศส่งออกไปจำหน่ายยัง USA. ออสเตรเลีย อังกฤษ สิงคโปร์ ตลาดในประเทศมีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เป็นต้นว่า ห้างฟูดแลนด์ แมคโคร เทสโก้โลตัส คาร์ฟู เดอะมอลล์ทุกสาขา สยามพารากอน สังคมสุขภาพในปั้มน้ำมันบางจาก บริษัท สุวรรณชาด ชมรมมังสวิรัติ ปฐมอโศก ร้านน้ำพริกแม่ศรี ร้านน้ำพริกนิตยา ทั้ง 2 สาขา
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้มีลูกค้าและนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาอุดหนุนสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีอุปการะคุณ ทางร้านจึงเห็นควรที่จะปรับปรุงร้านให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
ในการนี้ ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ได้กล่าวชื่นชมผลิตภัณฑ์ไชโป๊หวานและให้กำลังใจทายาทแม่กิมฮวยทุกรุ่นให้รักษามรดกของตระกูลที่ขึ้นชื่อนี้เอาไว้ให้อยู่คู่กับจังหวัดราชบุรี อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต ก่อนจะร่วมกับ นาย สุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รองผู้ว่าจังหวัดสมุทรสงคราม และนายวีระ ปุตะเศรณี นายอำเภอโพธาราม เข้าเยี่ยมซุ้มอาหารคาวหวานมากมายหลายชนิด รวมทั้งอาหารพื้นเมือง ที่หลายชนิดหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นใหม่ ภาพ/ภัทรพงศ์ ข่าว/ปรพล
พิธีการเริ่มจากการแสดงของนักแสดงยุวชนของกลุ่มภัทราวดีเธียเตอร์ ( สวนศิลป์ บ้านดิน ) อำนวยการฝึกสอนโดย อาจารย์ มานพ มีจำรัส ซึ่งนำเอาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยประยุกต์ เข้ากับศิลปะรุ่นใหม่ เป็นศิลปะร่วมสมัยอย่างสวยงามและลงตัว นำมาจัดแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชื่นชมความสามารถของนักแสดงตัวน้อย ๆ เหล่านี้ จากนั้นทายาทรุ่นที่ 5 ของตำนานไชโป๊หวานแม่กิมฮวย จึงกล่าวรายงานความเป็นมาของไชโป๊หวาน OTOP คู่แผ่นดินโดยกล่าวว่า เมื่อ 60 ปีมาแล้ว เมื่อลมหนาวมาเยือน ช่วงเดือน ธ.ค. –ม.ค. ของทุกปี จังหวัดราชบุรีจะมีการปลูกหัวไชเท้ากันมาก ชาวตำบลเจ็ดเสมียนกลุ่มหนึ่ง ได้นำหัวไชเท้ามาแปรรูปเป็นหัวไชเท้าเค็มโดยใช้เกลือทะเลจาก จ. สมุทรสงครามและ จ. เพชรบุรี พร้อมกับจัดจำหน่ายให้แก่พ่อค้าคนกลางที่ กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ต่อมาราวปีพ.ศ. 2506 แม่ฮวยได้เริ่มผลิตไชโป๊หวาน จำหน่ายที่หน้าร้าน ณ ตำบลเจ็ดเสมียนแห่งนี้ พร้อมกับส่งจำหน่ายให้กับพ่อค้าที่เยาวราช เป็นที่ขายดิบขายดียิ่ง กิจการเจริญก้าวหน้าตามลำดับ แต่ไชโป๊หวานเมื่อไปถึงกรุงเทพฯ ได้กลายพันธุ์เป็น ไชโป๊หวานสุรินทร์ จนกระทั่ง ปลายปี พ.ศ. 2507 จึงได้ส่งตัวอย่างสินค้า เพื่อให้ ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ชิม และไชโป๊หวานแม่กิมฮวย ก็ได้รับประกาศนียบัตร รับรองความอร่อย “เชลล์ชวนชิม” จากบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน 2528 นับแต่วันนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ รวมเป็นเวลา 23 ปี ที่ทำให้ผู้คนเข้าใจถูกต้องว่าไชโป๊หวาน ที่หวานกรอบ อร่อย แท้จริงแล้ว มาจาก จ. ราชบุรี แทบทั้งสิ้น และจากข้อมูลของ ก. อุตสาหกรรม ปีพ.ศ. 2549 รายงานว่า ตำบลเจ็ดเสมียน เป็นแหล่งผลิตไชโป๊ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และจากการส่งเสริมของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ จัดประกวดคัดสรร 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล หรือที่รู้จักกันดีว่า OTOP แชมเปี้ยน ไชโป๊หวานแม่กิมฮวยได้รับคัดสรรเป็น OTOP แชมเปี้ยน 5 ดาว 3 ปีซ้อน นอกจากนี้โรงงานใช้โป๊หวานแม่กิมฮวยยังได้รับการรับรองหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่ดี ในการผลิตอาหารหรือ G.M.P. และมาตรฐานอาหารฮาฬาลอีกด้วย
สำหรับการตลาดของไชโป๊หวานแม่กิมฮวย มีจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยต่างประเทศส่งออกไปจำหน่ายยัง USA. ออสเตรเลีย อังกฤษ สิงคโปร์ ตลาดในประเทศมีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เป็นต้นว่า ห้างฟูดแลนด์ แมคโคร เทสโก้โลตัส คาร์ฟู เดอะมอลล์ทุกสาขา สยามพารากอน สังคมสุขภาพในปั้มน้ำมันบางจาก บริษัท สุวรรณชาด ชมรมมังสวิรัติ ปฐมอโศก ร้านน้ำพริกแม่ศรี ร้านน้ำพริกนิตยา ทั้ง 2 สาขา
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้มีลูกค้าและนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาอุดหนุนสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีอุปการะคุณ ทางร้านจึงเห็นควรที่จะปรับปรุงร้านให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
ในการนี้ ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ได้กล่าวชื่นชมผลิตภัณฑ์ไชโป๊หวานและให้กำลังใจทายาทแม่กิมฮวยทุกรุ่นให้รักษามรดกของตระกูลที่ขึ้นชื่อนี้เอาไว้ให้อยู่คู่กับจังหวัดราชบุรี อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต ก่อนจะร่วมกับ นาย สุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รองผู้ว่าจังหวัดสมุทรสงคราม และนายวีระ ปุตะเศรณี นายอำเภอโพธาราม เข้าเยี่ยมซุ้มอาหารคาวหวานมากมายหลายชนิด รวมทั้งอาหารพื้นเมือง ที่หลายชนิดหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นใหม่ ภาพ/ภัทรพงศ์ ข่าว/ปรพล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น